การปราบปรามยาเสพติด
ในปี 2532 สำนักงาน ป.ป.ส.
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามยาเสพติด
ทำการปราบปรามจับกุมผู้กระทำผิดยาเสพติดทั่วประเทศได้รวมทั้งสิ้น 60,546 คดี ผู้ต้องหา 63,316 คน
ยึดยาเสพติดของกลางได้ดังนี้ (สำนักงาน ป.ป.ส. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ๒๕๓๒)
ฝิ่น 1,809.60 ก.ก.
พันธ์ฝิ่น 33,376.43
ก.ก.
มอร์ฟีน 28.36 ก.ก.
เฮโรอีน
718.61 ก.ก.
กัญชา 107,945.82 ก.ก.
แอมเฟตามีน 54.36 ก.ก.
นอกจากนี้เพื่อให้การดำเนินงานด้านปราบปรามยาเสพติดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสำนักงาน
ป.ป.ส.
ได้ดำเนินงานดังนี้
1.
โครงการปราบปรามการแพร่ระบาดยาเสพติดในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง
สำนักงาน ป.ป.ส.
ได้จัดทำโครงการเร่งรัดการปราบปรามยาเสพติดในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง
เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดซึ่งกระจายอยู่ในแหล่งชุมชนแออัดต่างๆทั่วกรุงเทพ
และอยู่ในความรับผิดชอบของสถานีตรวจนครบาลต่างๆรวม 69
สถานีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้สถานีตำรวจที่มีพื้นที่การแพร่ระบาดยาเสพติดรุนแรงสามารถดำเนินการปราบปรามการค้ายาเสพติดได้อย่างต่อเนื่องและลดปัญหาการลักลอบค้ายาเสพติดในแหล่งชุมชนที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร
ดังนั้นจึงได้กำหนดเป้าหมายในปี 2532 ไว้ 10
สถานีภายใต้โครงการแพร่ระบาดยาเสพติดในกรุงเทพ และจังหวัดใกล้เคียงดังต่อไปนี้
เขตใต้ : สน. บางรัก ยานนาวา ปทุมวัน
เขตเหนือ : สน. ห้วยขวาง ดินแดงพญาไท
นางเลิ้ง
เขตธนบุรี : สน.บางกอกน้อย ราษฎร์บูรณะ
บางขุนเทียน
การพัฒนาระบบการข่าว
การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารด้านยาเสพติดโดยนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ให้เป็น1.
ประโยชน์ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆทำให้สามารถตรวจสอบฐานข่าวในการปฏิบัติการสืบสวนกลุ่มนักค้ายาเสพติดทั้งภายในและภายนอกประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลจากการประสานงานด้านการข่าวระหว่างสำนักงาน
ป.ป.ส. และหน่วยงานต้านยาเสพติดทั้งภายในและต่างประเทศทำให้สามารถจับกลุ่มนักค้ายายาเสพติดซึ่งทำการลักลอบขนยาเสพติดจากประเทศไทยแล้วไปจับกุมได้ยังต่างประเทศ
จำนวนทั้งสิ้น 38 ราย ซึ่งในจำนวนนี้เป็นนักค้ายาเสพติดระหว่างประเทศรายสำคัญจำนวน
9 ราย จากประเทศออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา
2.
แผนปราบปรามกัญชา
แผนปราบปรามกัญชาเป็นการรวบรวมผลการปฏิบัติการของ 3 โครงการ คือ
1.โครงการสกัดกั้นเส้นทางลำเลียง
2.โครงการตัดฟันกัญชา 3.
โครงการประสานงานด้านการข่าว
จากการตรวจค้นและการจับกุมกัญชาแห้งบริเวณชายแดนไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ตามโครงการต่างๆตั้งแต่ปี 2530-2532
ทำให้บรรดานักค้ายาเสพติดบริเวณชายแดนปรับเปลี่ยนวิธีการลักลอบลำเลียงให้ปลอดภัยมากขึ้น
เช่น ทำการลำเลียงในปริมาณที่น้อยลงคือ
เดิมลำเลียงครั้งละ 1,000-2,000
กิโลกรัม เป็นลำเลียงครั้งละ 20-50 กิโลกรัม โดยใช้คนเดินเท้าแบบกองทัพมด
ทำให้การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ต้องทำการปฏิบัติการตรวจค้นและออกลาดตระเวนดูความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
การลักลอบลำเลียงกัญชาจากประเทศใกล้เคียงจะทำการลำเลียงโดยใช้ประเทศไทยเป็นเส้นทางลำเลียงานภาคกลางและภาคใต้ไปยังประเทศมาเลเซียจากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้ปริมาณการค้ากัญชาระหว่างประเทศมีจำนวนลดลงจาก
365 ตัน ในปี 2530 และ 374 ตัน ในปี 2531 เหลือเพียง 133 ตัน ในปี 2532
โดยมีประเทศปลายทางที่สหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ
สำหรับโครงการสกัดกั้นเส้นทางลำเลียงและโครงการตัดฟันกัญชาได้ดำเนินการในลักษณะการประสานงานกับจังหวัดเป้าหมาย
5 จังหวัด คือ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร หนองคาย และเลย สามารถตัดฟันทำลายไร่กัญชาคิดเป็นพื้นที่
481 ไร่ ส่วนพื้นที่ภาคใต้ สำนักงาน ป.ป.ส.
ไม่ได้กำหนดให้มีการประสานงานผ่านจังหวัด
แต่ใช้เป็นการประสานโดยตรงกับหน่วยปฏิบัติที่จะเข้าร่วมในโครงการประสานงานด้านการข่าวกับ
ตชด. ซึ่งได้ตัดฟันกัญชา 314.5 ไร่ กัญชาที่ทำการตัดฟันในภาคกลาง คือ
จังหวัดปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์และกาญจนบุรี รวม 7.7 ไร่ ในพื้นที่ภาคเหนือ 6
จังหวัด คือ ลำปาง ตาก เชียงใหม่ เชียงราย เพชรบูรณ์ พะเยา
สามารถตัดฟันไร่กัญชาได้ 96.1 ไร่ ในปี
2532 สามารถตัดฟันทำลายไร่กัญชาทั่วประเทศคิดเป็นพื้นที่ 899.3 ไร่ มีน้ำหนัก 590,803.40 กิโลกรัม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น