การควบคุมพืชเสพติด
รูป:ควบคุมพืชเสพติด
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/
การควบคุมพืชเสพติดมิได้มุ้งเน้นจะลดพื้นที่การปลูกพืชเสพติดแต่เพียงด้านเดียวหากแต่ยังหวังที่จะแก้ปัญหาอื่นๆที่เป็นมูลเหตุหรือเหตุข้างเคียง
เช่น ความยากจน การตัดไม้ทำลายป่า ขาดการศึกษาและ ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปลูกพืชเสพติด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นทีที่ปลูกฝิ่น
ดังนั้นสำนักงาน ป.ป.ส.
จึงได้ประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวในปี
2532 สำนักงาน ป.ป.ส. ได้ดำเนินงานตามแผนควบคุมพืชเสพติดดังต่อไปนี้ (สำนักงาน ป.ป.ส.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ๒
1 การลดพื้นที่การลักลอบปลูกพืชเสพติดสามารถดำเนินการลดพื้นที่การลักลอบปลูกฝิ่นในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาที่สูง 6 โครงการ ซึ่งเดิมมีการปลูกฝิ่นอยู่ถึง 8,510.22 ไร่ในปี พ.ศ.2531/2532 เหลือเพียง 5,901
ไร่ ในปี 2532/2533 ลดลง 2,609.22 ไร่
2.
การพัฒนาชุมชนชาวเขาบนพื้นที่สูง
2.1 การพัฒนาการเกษตรมีเป้าหมายให้ชาวเขาสามารถเพิ่มผลผลิตด้านการเกษตรให้เพียงพอแก่การบริโภค
ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน (ปี 2532)
ส่งผลให้ชาวเขาซึ่งเดิมทีปลูกพืชได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ
เป็นชาวเขาซึ่งมีผลผลิตทางการเกษตรเกินพอต่อการบริโภคและทำเกษตรเพื่อการค้า
โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจที่ส่งเสริมให้ปลูก เช่น กาแฟพันธ์อราบิก้า ในปี 2531 /2532
มีผลผลิต 200.5 ตัน (ราคาโดยเฉลี่ยกิโลกรัมละ 72 บาท)
2.2 การพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม
มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาชุมชนชาวเขาให้ดำรงชีพอยู่ได้ตามอัตภาพมีเครื่องยังชีพในระดับที่เหมาะสมชุมชนชาวเขาในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาที่สูงมีการจัดระเบียบชุมชนที่เป็นหมวดหมู่ไม่กระจัดกระจายหรืออพยพเคลื่อนย้ายดำรงชีพโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและปลูกพืชเสพติดอนุรักษ์ธรรมชาติให้คงสภาพเดิมและฟื้นฟูสภาพธรรมชาติที่เสื่อมโทรม
นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านในโครงการพัฒนาที่สูงจำนวน 460
หมู่บ้าน
2.3
การพัฒนาสาธารณสุขมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงสภาพอนามัยชาวเขาโดยการจัดหาและให้บริการด้านสาธารณสุขรวมทั้งการแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยจากการดำเนินงานพัฒนาที่ผ่านมาส่งผลให้ชาวเขามีสภาพสาธารณสุขที่ดีขึ้น
อัตราการตายน้อยลงและยังได้มีการรณรงค์ในเรื่องการคุมกำเนิดอย่างกว้างขวางเพราะพบว่ามีอัตราเกิดสูงมากในขนาด
38.6 ต่อประชากร1,000 คน
2.4
การพัฒนาการศึกษามีเป้าหมายเพื่อยกระดับการศึกษาของชาวเขาให้อยู่ในระดับเดียวกับคนพื้นราบ
สนับสนุนการเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาชีพ การพัฒนาการศึกษาของชาวเขาประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
โดยเฉลี่ยความสามารถในการเข้าใจภาษาไทยของชาวเขายังต่ำกว่ามาตรฐานของคนพื้นราบ
3. การสร้างความมั่นคงของชาติ
เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ชาวเขามีความรู้สึกเป็นคนไทยอย่างแท้จริง
โดยส่งเสริมให้ชาวเขามีสิทธิและหน้าที่ในฐานะพลเมืองของไทย ในปัจจุบัน สำนักงาน
ป.ป.ส. ได้ดำเนินการพัฒนาชาวเขาในเขตพื้นที่โครงการต่างๆแล้วรวมจำนวน 38,847 คน คิดเป็นร้อยละ 16 ของจำนวนชาวเขาทั่วประเทศ จำนวนหมู่บ้าน 474
หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 13 ของจำนวนหมู่บ้านชาวเขาทั้งหมด
วิดีโอ:จากไร่ฝิ่นสู่โครงการหลวง พัฒนาอาชีพปลูกพืชผักอื่นแทนการปลูกฝิ่น
แหล่งที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=oZMzkyfNG74
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น