วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

ลักษณะของผู้ติดยาเสพติด


        ผู้ที่ติดยาเสพติด จะมีลักษณะและความประพฤติเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมโทรมลงที่พอจะสังเกตได้คือ (อุดม  ดุจศรีวัชร)

                                                    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของผูเสพ
รูป:อธิบายลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคนเสพติด
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q=4.การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคนเสพติด


1. ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
       - สภาพร่างกายทรุดโทรม ผอมซูบซีด ไม่มีแรง สกปรก
        - ตาแดงช้ำ น้ำมูกน้ำตาไหล เหงื่อออกมาก
        - ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง แตก

         - มีรอยฉีดยา หรือรอยแผลเป็นที่ถูกกรีดด้วยของมีคมจากการทำร้ายตัวเอง จนต้องสวมเสื้อแขนยาวเป็นประจำเพื่อปกปิดรอยแผล
         - มักสวมแว่นกันแดดสีเข้มเพื่อป้องกันแสงสว่างเนื่องจากม่านตาขยาย


                                                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและความประพฤติของผู้เสพ
รูป:แสดงการเปลี่ยยแปลงทางจิตใจและพฤติกรรมผู้เสพ
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q=เปลี่ยยแปลงทางจิตใจและพฤติกรรมผู้เสพ

2. ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและความประพฤติกรรม
         - อารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิด แต่บางคนก็เงียบขรึมผิดปกติ
         - เกียจคร้าน เบื่อหน่ายการเรียนหรือการทำงานประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลง
         - ชอบแยกตัวไปอยู่คนเดียวเงียบๆ ทำตัวลึกลับไม่เข้าหน้าผู้อื่น
          - ง่วงเหงาหาวนอน ตื่นสายผิดปกติ
          - ขโมยของฉกชิงวิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด
          - อ่อนแอ ขี้โรค


อาการของผู้ต้องการยาเสพติด

          เมื่อผู้ที่ติดยาเสพติดขาดยาจะเกิดอาการอยากยาอย่างรุนแรงคือ (อุดม  ดุจศรีวัชร)
       1.น้ำมูกน้ำตาไหล หาวนอน
        2. กระสับกระส่าย หายใจถี่ลึก จะพยายามหายามาเสพให้ได้ไม่ว่าจะโดยวิธีใด
        3. คลื่นไส้ อาเจียน
         4. ท้องเดิน อาจจะถ่ายอุจจาระเป็นเลือดเรียกว่า ลงแดง
          5. ขนลุก เหงื่อออกมาก
          6. ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก



วิดีโอ: อธิบายอาการคนติดตาเสพติด
แหล่งที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=pa1DgvjUTN0

ความหมายของยาเสพติดให้โทษ


ยาเสพติดให้โทษ  คือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะวิธีการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ(สำนักงาน ป..ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ๒๕๔๗)ในลักษณะสำคัญเช่น
-ผู้ที่เสพยาต้องเพิ่มขนาดการเสพมากขึ้นเป็นลำดับ
-ผู้ที่เสพยาจะเกิดอาการถอนยาเมื่อหยุดใช้ยาหรือขาดยา
-ผู้ที่เสพยาจะเกิดความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา
-ผู้เสพยาจะมีสุขภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลง

วิดีโอ : แนะนำเกี่ยวกับความหมายของยาเสพติดให้โทษ
     แหล่งที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=j57mEqS_2mQ
                ของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


สาเหตุของการใช้สารเสพติด
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติดมีอยู่ 3 ปัจจัย คือ

       1.ตัวสารเสพติด
       2.ผู้เสพ
       3.สิ่งแวดล้อมของผู้เสพ

สาเหตุของการเสพติด

                                         

                                          รูป : ยาและสารเสพติด
                ที่มา https://www.google.co.th/search?q=สารเสพติด    

1.สารเสพติด สารที่จัดเป็นสารเสพติดจะมีฤทธิ์ Reinforcing effect ซึ่งหมายถึง ฤทธิ์เสพติดหรือฤทธิ์ที่กระตุ้นให้คนอย่างกลับไปใช้ใหม่อีกเรื่อยๆ ซึ่งเป็นฤทธิ์ต่อสมองและจิตใจทำให้เกิด Craving คือ ความอยากใช้สารเสพติด โดยสารเสพติดจะไปกระตุ้นสมองในบางส่วนทำให้เกิดความพอใจ และนำไปสู่ความอยากใช้ (Craving) สารเสพติดในแต่ละตัวจะออกฤทธิ์ในสมองแต่ละส่วนที่ต่างกัน แต่โดยรวมแล้ว สารเสพติดทั้งหมดจะไปกระตุ้นในส่วนที่เรียกว่า Brain Reward System ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ควบคุมความพอใจ อยากจะทำอยากจะใช้อยู่เรื่อยๆ


                                           
                                            รูป : ผู้เสพสารเสพติด
                      แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q=สารเสพติด

2.ผู้เสพ
  - บุคลิกภาพ มิได้เป็นตัวการกำหนดที่แท้จริง เพราะพบว่าคนที่ติดสารเสพติดจะมีบุคลิกภาพได้ทุกประเภท               - กรรมพันธุ์ ก็มิได้บ่งบอกที่แน่นอน เช่น ปู่ พ่อ แม่ไม่ใช้ แต่ลูกใช้
         - ความบกพร่องในทางสมอง เป็นอีกสมมุติฐานหนึ่งที่อาจเกี่ยวข้องกับการติดสารเสพติด ผลการวิจัยในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน(ภานุพงศ์ จิตะสมบัติ,๒๕๔๒)


                                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผับผู้เสพติด

                                   รูป: แหล่งมั่วสุ่มของผู้เสพติด

                   แหล่งที่มา : https://www.google.co.th/search?q=แหล่งเสพติด
3.สิ่งแวดล้อม
- ความหายาก หาง่าย ภายในสภาพแวดล้อม ถ้าหายาได้ง่ายก็จะทำให้เกิดการลองใช้ยาได้มากขึ้น แต่ในทางกลับกันไม่สามารถหายาได้หรือหายายากก็จะทำให้ไม่มีโอกาสในการทดลองยา
- ราคาของยาเสพติดที่ถูกหรือแพง ก็จะทำให้เกิดโอกาสในการทดลองยาใช้ยาที่แตกต่างกัน ในกรณีของยาที่ราคาถูกก็จะทำให้คนกลุ่มใหญ่มีความสามารถในการซื้อหามาลองได้
- กลุ่มหรือเพื่อน ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการเสพยา ถ้าอยู่ในกลุ่มที่ใช้ยาก็จะเกิดการชักชวนให้ทดลองหรือในบางกรณีวัยรุ่นมักจะมีความรู้สึกว่าถ้าจะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มได้จะต้องทำเหมือนๆ กับกลุ่ม

- วัฒนธรรม หรือศาสนา เช่น ประเทศในตะวันออกกลางนับถือศาสนาอิสลามที่มีข้อบังคับห้ามดื่มสุรา จึงต้องหันมาใช้สารเสพติดชนิดอื่น เช่น ฝิ่น หรือบนดอยมีการปลูกฝิ่นกันอย่างแพร่หลาย และมีประเพณีการใช้กันมาจนรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดา จึงมีการใช่ฝิ่นมาตลอด(ภานุพงศ์ จิตะสมบัติ,๒๕๔๒)