ความร่วมมือระหว่างประเทศ

ความร่วมมือระหว่างประเทศ

                                          ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ความร่วมมือระหว่างประเทศ สารเสพติด
รูป:ความร่วมมือระหว่างประเทศ สารเสพติด
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th

สำนักงาน ป.ป.ส. ได้ประสานการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกระดับตามพันธะผูกพัน ในฐานะของประเทศภาคีของสนธิสัญญาควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศฉบับต่างๆและในฐานะที่เป็นประเทศสมาชิกของประชาคมโลก ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้  (สำนักงาน ป.ป.ส. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ๒๕๓๒)

1.ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ
องค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีบทบาทต่อการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของประเทศไทย ได้แก่องค์การสหประชาชาติ สมาคมอาเซียน สำนักงานแผนโคลัมโบ และองค์การตำรวจสากล ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                        1.1 องค์การสหประชาชาติ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในโครงการต่างๆในปี 2532 รวมทั้งสิ้น 10 โครงการดังต่อไปนี้
                                    1.1.1 โครงการพัฒนาที่สูงไทย - นอรเว
                                    1.1.2 โครงการพัฒนาที่สูงดอยแปเป้อ
                                    1.1.3 โครงการพัฒนาที่สูงดอยสามหมื่น
                                    1.1.4 โครงการพัฒนาที่สูงดอยเวียงผา
                                    1.1.5 The Extended Pilot Programme For Social/Vocational Reintegration for persons   with Drug Abuse-Related Problems
                                    1.1.6 Development of Testing and Training Centres
1.1.7 Training of Primary Health Care Workers
                                    1.1.8 Development of Drug Dependence Treatment System for Hilltribal Communities
                                    1.1.9 Therapeutic Community Approach to Treatment and Rehabilitation
                                    1.1.10 Assessment of Psychotropic Drug Utilization
                        1.2 สมาคมอาเซียน
            ได้ให้ความสำคัญกับปัญหายาเสพติดและมีบทบาทในการจัดทำและเข้าร่วมในโครงการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพื่อลดระดับความรุนแรงของปัญหา มุ่งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเยาวชนในภูมิภาคนี้ สำหรับในปี 2332 ได้มีการดำเนินงานตามโครงการต่างๆดังต่อไปนี้
                                    1.2.1 ASEAN Training Courses for Drug Rehabilitation Professionals (2529-2531) ได้รับเงินสนับสนุนจาก UNDP โดยประเทศมาเลเซียเป็นผู้ดำเนินการ โดยในปี 2532 มีการจัดอบรมในหลักสูตรเจ้าหน้าที่ด้านวางแผนงานฟื้นฟูสมรรถภาพ ครั้งที่ 3 ที่เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย
                                    1.2.2 ASEAN Law Enforcement Workshops and Training Courses (2532-2534) ในปี พ.ศ. 2532 ได้จัดประชุมปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดอาเซียน เรื่องมาตรการสืบสวนทางการเงินและการริบทรัพย์สินผู้กระทำผิดในคดียาเสพติด ครั้งที่ 1 ณ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงาน ป.ป.ส. เป็นผู้จัด
1.3 สำนักงานแผนโคลัมโบ
            องค์กรหลักของสำนักงานแผนโคลัมโบที่ติดต่อประสานงานกับประเทศไทยทางด้านยาเสพติด คือ โครงการที่ปรึกษาด้านยาเสพติด (Drug Advisory Programme) และในปี 2532 ได้ให้ทุนเจ้าหน้าที่ไทยไปประชุมสัมมนา ฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ จำนวน 2 ครั้ง
1.4 องค์การตำรวจสากล
สำนักงาน ป.ป.ส. ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่ องค์การตำรวจสากลซึ่งมีวาระการประชุมเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นประจำทุกปี
2. ความร่วมมือระดับทวิภาค
            รัฐบาลไทยและรัฐบาลประเทศต่างๆได้เล็งเห็นความสำคัญของการร่วมมือระหว่างประเทศในระดับทวิภาคี ดังจะเห็นได้จากประเทศต่างๆ ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประสานงานยาเสพติดประจำประเทศไทยรวม 14 ประเทศ และ 1 องค์การ คือ สหรัฐอเมริกา คานาดา สหราชอาณาจักร ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สวีเดน อิตาลี สหพันธ์ สาธารณะรัฐเยอรมัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สเปนและองค์การตำรวจสากล
            ในปี 2532 ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจากมิตรประเทศดังต่อไปนี้
                        2.1 สหรัฐอเมริกา
                                    - โครงการด้านการปราบปรามยาเสพติด 1,535,000 เหรียญสหรัฐฯ
- โครงการด้านการปลูกพืชทดแทนและพัฒนาชาวไทยภูเขา 1,495,000 เหรียญสหรัฐฯ
                                    - โครงการด้านการป้องกันยาเสพติด 260,000 เหรียญสหรัฐฯ
                        2.2 ออสเตรเลีย
                                    - โครงการความช่วยเหลือด้านคอมพิวเตอร์ ในวงเงิน 2.2 ล้านเหรียญออสเตรเลีย
                        2.3 สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
                                    - โครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมัน ระยะที่ 2 (2531-2533) เป็นเงิน 11 ล้านดอยซ์มาร์ค
                        2.4 เนเธอร์แลนด์
                                    - ขยายความช่วยเหลือในโครงการศูนย์วิจัยกาแฟพันธุ์อาราบิก้าต่อไปอีก 4 ปี (2531-2533) เป็นเงิน 1,626,525 กิลเดอร์
                        2.5 ฝรั่งเศส
                                    -ให้ความช่วยเหลือผ่าน AIT ต่อโครงการศึกษาการใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม SPOT เพื่อการสำรวจและการควบคุมพืชเสพติด ระยะที่ 2 (2531-2532)
                        2.6 อังกฤษ
                                    - สนับสนุนเครื่องมือวิทยาศาสตร์สำหรับการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดและตรวจปัสสาวะ
                                    - สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือทัศนูปกรณ์ สำหรับการฝึกอบรมและห้องอัดเสียงของศุนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้
                                    - สนับสนุนเครื่องมืออิเล็กทรอนิคซึ่งใช้ในงานด้านปราบปรามยาเสพติด
                                    - รวมเป็นมูลค่าประมาณ 1,499,500 บาท
          2.7 อิตาลี
- องค์การ Comunita Incontro ได้ให้ความช่วยเหลือเป็นเงิน 4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการสร้างอาคารศูนย์ชุมชนบำบัดและการดำเนินกิจกรรมต่างๆของศูนย์
                                    - บริจาคเงินให้แก่มูลนิธิถ้ำกระบอก เป็นจำนวนเงิน 150,000 บาท
3. การส่งเจ้าหน้าที่จากประเทศไทยไปประชุม อบรมและดูงานในต่างประเทศ
                        ในช่วงปี 2532 เจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ส. ได้เดินทางไปร่วมการประชุมสัมมนาในประเทศอังกฤษ ออสเตรีย มาเลเซีย อินเดีย เนปาล ฝรั่งเศส สาธารณรัฐประชาชนจีน อิตาลี สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต สวีเดน ญี่ปุ่น ศรีลังกา รวม 20 ครั้ง  นอกจากนี้ยังส่งเจ้าหน้าที่ไปดูงานและฝึกอบรมที่ประเทศออสเตรเลีย 2 คน มาเลเซียและสิงคโปร์ 1 คน อิตาลี 2 คน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน 3 คน และญี่ปุ่น 1 คน
4. การประชุม อบรม สัมมนาระหว่างประเทศที่สำนักงาน ป.ป.ส. เป็นผู้จัด
                        4.1 การสัมมนาเรื่องการค้นหายาเสพติดโดยใช้สุนัข ครั้งที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-22 มกราคม 2532 โดยความร่วมมือขององค์การตำรวจสากลและสภาความร่วมมือทางศุลกากรมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นคนไทย 7 คน และจากต่างประเทศ 43 คน
                        4.2 การประชุมปฏิบัติการว่าด้วยระบาดวิทยาของปัญหายาเสพติด ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-24 มีนาคม 2532 โดยได้รับความร่วมมือจาก USAID มีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศไทย 14 คน และจากต่างประเทศ 21 คน
                        4.3 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านยาเสพติด ครั้งที่ 12 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-19 พฤษภาคม 2532 มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกสมาคม ASEAN รวมทั้งสิ้น 67 คน ในการประชุมครั้งนี้ได้ให้ความเห็นชอบให้มีการจัดตั้งASEAN Drug Fund เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอาเซียนที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศคู่เจรจา
                        4.4 การสัมมนาเรื่องแนวทางใหม่ในการปราบปรามยาเสพติด จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-11 มิถุนายน 2532 โดยได้รับความร่วมมือจาก USIS ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องและผู้สังเกตการณ์เป็นคนไทย 60 คน และจากต่างประเทศ 14 คน
5. การดูงานของเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างประเทศ
                        ในช่วงปี พ.ศ. 2532 สำนักงาน ป.ป.ส. ได้จัดการต้อนรับและจัดการดูงานและบรรยายสรุปแก้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างประเทศ รวมทั้งสื่อมวลชนต่างประเทศ ซึ่งเดินทางมาทำข่าวเกี่ยวกับยาเสพติด รวมทั้งสิ้นประมาณ 58 คณะ จำนวน 184 คน คณะผู้ดูงานที่สำคัญ ได้แก่ คณะสมาชิกผู้แทนราษฎรออสเตรเลีย คณะเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเกษตรและกระทรวงสาธารณสุขชองสาธารณรัฐประชาชนจีน  Mrs. Margaret  Anstee ผู้อำนวยการใหญ่ของสำนักงานสหประชาชาติ Mr. Richard Solomon รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
           





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น