การวิจัยยาเสพติด

การวิจัยยาเสพติด

                                            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การวิจัยยาเสพติด
รูป:การวิจัยยาเสพติด
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th

การวิจัยนับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เพราะปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน นอกจากจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวยาเสพติดแล้วยังเกี่ยวข้องกับคนและสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่เสมออีกด้วย การแก้ไขปัญหายาเสพติดจึงจำเป็นต้องทราบข้อมูลที่ถูกต้อง ลักษณะและขอบเขตของปัญหา ซึ่งการวิจัยถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการแสวงหาข้อมูลต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศ
            ในปี 2532 มีหน่วยงานสถาบันวิจัยและบุคคลที่ดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับยาเสพติดที่ประสานงานกับสำนักงาน ป.ป.ส. ดังต่อไปนี้ (สำนักงาน ป.ป.ส. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ๒๕๓๒)
            1. ศูนย์ประสานงานกลางองค์การภาคเอกชนต่อต้านยาเสพติดสาขาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  คณะกรรมการการพัฒนาชุมชนของสภาสังคมสงเคราะห์๚ โดย ร.ศ.ดร.โสภา  ชูพิกุลชัย ได้ดำเนินการวิจัยเรื่อง "การศึกษาการแพร่ระบาดของการติดสารเสพติดในเด็กและเยาวชนย่านชุมชนแออัด : ศึกษาเฉพาะกรณีในเขตกรุงเทพมหานคร" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงวิธีการแพร่ระบาดของการติดสารเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนย่านชุมชนแออัดของกรุงเทพมหานครและเพื่อให้ทราบถึงมูลเหตุจูงใจที่ทำให้บุคคลเหล่านี้ใช้สารเสพติด
2. กระทรวงศึกษาธิการ
                        2.1 หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู ได้ดำเนินการวิจัยเรื่อง "การศึกษาสภาพการรู้จักใช้และทัศนคติเกี่ยวกับสารเสพติด ของนักเรียนและเยาวชนอายุ 16-18 ปี พ.ศ. 2532" โดยได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจาก Narcotics Assistance Unit (NAU) เพื่อศึกษาถึงความรู้ ทัศนคติและการใช้สารเสพติดของนักเรียนในสถานศึกษา 2 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา และเยาวชนนอกสถานศึกษา
                        2.2 หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ได้ดำเนินการวิจัยเรื่อง "การศึกษาสภาพการป้องกันการใช้ยาในทางที่ผิดในโรงเรียนมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินการป้องกันการใช้ยาในทางที่ผิดในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
3. กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย
กองทัณฑวิทยา กรมราชทัณฑ์ได้ดำเนินการวิจัยในปี 2532 ดังนี้
1."การศึกษาเรื่องภาวะการเสพสารเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของสารเสพติดในเรือนจำและทัณฑสถาน ตลอดจนกำหนดวิธีปฏิบัติและบำบัดรักษาผู้ต้องขังที่เสพสารเสพติดอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
            2."ความสัมพันธ์ระหว่างการเสพยาเสพติดกับการประกอบอาชญากรรม : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ต้องขังในเรือนจำกลาง" โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาชญากรรมกับการเสพยาเสพติดประเภทหรือลักษณะของอาชญากรรมที่มีความสัมพันธ์กับการเสพยาเสพติดและเพื่อหาแนวทางในการปฏิบัติแก้ไขที่เหมาะสมต่อผู้ต้องขังคดีอื่นๆนอกเหนือจากคดียาเสพติดให้โทษที่กระทำผิดเพราะยาเสพติด
4. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
          กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ดำเนินการวิจัยเรื่อง "การสำเร็จรูปแบบการใช้วัตถุออกฤทธิ์ในประเทศไทย" โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก United Nations Fund for Drug Abuse Control (UNFDAC) มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต การนำเข้า ส่งออกและจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเทศไทย พร้อมทั้งหามาตรการที่จะติดตามควบคุมการผลิต จำหน่ายและใช้ยาดังกล่าว
5. สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
                        กองป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด สำนักอนามัย โดยนางดวงเดือน ขัติยะวรา และคณะได้ดำเนินการวิจัยเรื่อง"โครงการงดข้าวขาว" เพื่อศึกษาหาวิธีการช่วยเหลือผู้ป่วย โดยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการติดรับประทานข้าวขาวมาแต่เกิด เปรียบเทียบการหยุดเสพ การติดเฮโรอีนของผู้ป่วยที่กำลังรักษาอยู่ ทำให้เข้าใจความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ติดเฮโรอีนที่ทำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลิกเสพ
6.สำนักงาน ป.ป.ส.
                        ในปี 2532 สำนักงาน ป.ป.ส. ได้จัดสรรทุนอุดหนุนการวิจัยให้แก่หน่วยงานที่ขอทุนสนับสนุนตามโครงการเงินอุดหนุนการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด คือ "โครงการทดลองหารูปแบบในการเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันยาเสพติดในกลุ่มผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล" โดยกรมแรงงานเป็นผู้ดำเนินการวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบว่าผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการป้องกันยาเสพติดในสถานประกอบการได้นำความรู้ที่ได้เผยแพร่หรือปฏิบัติในสถานประกอบการของตนอย่างไร ได้ผลประการใดและเพื่อหารูปแบบในการเผยแพร่ความรู้เพื่อป้องกันยาเสพติดในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน
            ในปีเดียวกันนี้ สำนักงาน ป.ป.ส. ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก NAU ในการวิจัยเรื่อง "โครงการศึกษาคุณภาพของฝิ่นและศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีของตัวอย่างฝิ่นในภาคเหนือของประเทศไทย" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพฝิ่นลักษณะเฉพาะขององค์ประกอบทางเคมีของฝิ่นจากแหล่งต่างๆในบริเวณภาคเหนือซึ่งเป็นการนำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาช่วยเสริมและสนับสนุนประกอบกับข้อมูลด้านอื่นๆในการติดตามสืบสวน สอบสวน และพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น