ชนิดของยาเสพติดให้โทษที่แพร่ระบาดในปัจจุบัน

ชนิดของยาเสพติดให้โทษที่แพร่ระบาดในปัจจุบัน

1 ฝิ่น (OPIUM)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปฝิ่น   

  เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมาย ประกอบด้วยโปรตีน เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์ เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นยาเสพติดให้โทษร้ายแรง แอลคะลอยด์ในฝิ่น แบ่งแยกออกได้เป็น ประเภท คือ
1. ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมีนเมาและเป็นยาเสพติดให้โทษโดยตรง แอลคะลอยด์ประเภทนี้ทางเภสัชวิทยาถือว่าเป็นยาทำให้นอนหลับ (Hypnotic) แอลคะลอยด์ที่เป็นสารเสพติด ซึ่งออกฤทธิ์ตัวสำคัญที่สุดในฝิ่น คือ มอร์ฟีน (Morphine)
 2. ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนคลายตัว ซึ่งในทางเภสัชวิทยาถือว่าแอลคะลอยด์ในฝิ่นประเภทนี้ ไม่เป็นสารเสพติดแต่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายหย่อนคลายตัว ซึ่งมีปาเวอร์รีน (Paverine) เป็นตัวสำคัญ
การใช้ยากลุ่มนี้นานๆ จะทำให้ libodo ลดลง ประจำเดือนอาจจะขาด และหมดความสนใจหรือหมดความรู้สึกทางเพศ
ผู้ติดยานี้ส่วนใหญ่มักจะใช้ยาอื่นอีกหลายชนิดมาก่อน เช่น บุหรี่ สุรา กัญชา แอมเฟตามีน ยานอนหลับ และยาหลอนประสาท แต่เมื่อเขาติดยาตัวนี้เขาจะใช้ยานี้เป็นหลัก ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่ใช้ยานี้อย่างผิดๆ จะใช้จนกระทั่งเสพติด (DSM-IIl)
เมื่อเสพติดยานี้แล้วจะรักษาให้หายได้ยากมาก โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้เสพติดอยู่ในแหล่งที่สามารถจะหายาได้ คนเหล่านี้อาจจะหยุดยาได้เป็นครั้งคราวเฉพาะเวลาที่มารับการรักษา ติดคุก หรือเมื่อหายาไม่ได้เป็นบางระยะ แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ในกรณีที่ผู้เคยเสพติดซึ่งได้รับการรักษา แล้วย้ายไปอยู่ในที่ที่ไม่สามารถหายามาเสพได้อีก ก็สามารถหายจากการเสพติดได้เหมือนกัน

ผลของยาเสพติดประเภทฝิ่นต่อร่างกายและจิตใจ
๑. บรรเทาอาการเจ็บปวด
๒. จิตใจเป็นสุข สงบ และหลับ
๓. ในกรณีที่ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ ขณะที่ยาวิ่งเข้าสู่กระแสโลหิตจะรู้สึกร้อนซ่าแผ่ซ่านไปทั่วท้อง เกิดความรู้สึกคล้ายมีความสุขสุดยอดทางเพศแต่ดีกว่า หลังจากนั้นจะสงบและอาจหลับไปชั่วครู่
๔. คลื่นไส้ อาเจียน แต่ในคนที่เสพติดแล้วความรู้สึกเป็นสุขที่ได้รับจากยาประเภทนี้ทำให้เขายอมรับอาการนี้อย่างเป็นสุข
๕. ม่านตาแคบลง
๖. ท้องผูก เพราะการเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง
๗. กดศูนย์หายใจในสมอง เพราะฉะนั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าใช้ยาเกินขนาด

ลักษณะของคนที่ติดยากลุ่มนี้
นอกจากการมีบุคลิกภาพแบนอันธพาล ไม่พบว่าผู้ติดยาจะมีปัญหาทางจิตเวชอย่างอื่นมากกว่าประชากรทั่วไป ผู้ป่วยพวกนี้ส่วนใหญ่จะมีประวัติการติดยาอื่นๆ ด้วย เช่น สุรา และยานอนหลับ ซึ่งทำให้การพยากรณ์โรคของคนเหล่านี้ไม่ดี มักพบปัญหาทางโรงเรียน เช่น การหนีโรงเรียนหรือเกเรก่อนการติดยา



วิดีโอ:อธิบายอาการของคนสูบดมฝิ่นเข้าไป
แหล่งที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=aLyd7-0n29U




2 มอร์ฟีน(MORPHINE)               

                                                            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มอร์ฟีน
รูป:มอร์ฟีน
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q=มอร์ฟีน

เป็นอัลคาลอยด์ที่สำคัญของฝิ่น  เป็นตัวการที่ทำให้ฝิ่นเป็นยาเสพติดและเป็นตัวกำหนดยาเสพติดชนิดอื่นอีกมากมาย  ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่ผลิตมอร์ฟีนขึ้น  เมื่อปี  พ.. 2346  โดยผู้ผลิตชื่อ  Friedrich  Sertirner  เป็นผู้ค้นพบวิธีสกัดอัลคาลอยด์ออกมาจากฝิ่น  โดยแยกกากและยางออกจากเนื้อของฝิ่น  ผลปรากฏว่าสารอัลคาลอยด์มีฤทธิ์มาก  สามารถกดสมองส่วนกลางให้หลับได้  กดศูนย์การหายใจและกระตุ้นประสาทไขสันหลัง  ต่อมาก็พบว่ามอร์ฟีนทำให้เกิดสารเสพติดอย่างร้ายแรง  จึงได้การออกกฎหมายกำหนดให้มอร์ฟีนเป็นยาเสพติดให้โทษ  แต่อย่างไรก็ตาม  มอร์ฟีนก็ยังคงใช้เป็นยาในวงการแพทย์อยู่  แต่การใช้จะต้องใช้ในยามที่จำเป็นจริงๆ  และจะต้องอยู่ในดุลยพินิจและการควบคุมดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด(ชามี อัฐกิจ และคณะ)
                 ลักษณะทั่วไปเป็นสารอัลคาลอยด์ที่สกัดได้จากฝิ่น มีลักษณะเป็นผงสีขาวนวล สีครีม สีเทา ไม่มีกลิ่น รสขม ละลายน้ำง่าย มอร์ฟีนจัดเป็นยาเสพติดให้โทษให้โทษประเภท2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มีฤทธิ์ในการกดประสาทและสมองรุนแรงกว่าฝิ่น ประมาณ 8-10 เท่า เสพได้ง่าย มีลักษณะต่างกัน เช่น อัดเป็นเม็ด เป็นผง เป็นแท่งเหลี่ยม มีเครื่องหมาย 999 หรือ OK เป็นสัญลักษณ์ และชนิดน้ำบรรจุหลอด (สำนักงาน ป..ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ๒๕๔๗)     
    
อาการผู้เสพติดมอร์ฟีน
                                         ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาการผู้เสพมอร์ฟีน
รูป:อาการผู้เสพมอร์ฟีน
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q=อาการผู้เสพมอร์ฟีน

ผู้ที่เสพมอร์ฟีน ระยะแรกฤทธิ์ของมอร์ฟีนจะช่วยลดความวิตกกังวลคลายความเจ็บปวดต่างๆ ตามร่างกาย ทำให้มีอาการง่วงนอนและหลับง่ายและหากเสพจนเกิดอาการติด ฤทธิ์ของมอร์ฟีนจะทำให้ผู้เสพมีอาการเหม่อลอย เซื่องซึม จิตใจเลื่อนลอย เกียจคล้านไม่สนใจต่อส่งแวดล้อมรอบกาย สุขภาพร่างกายผ่ายผอมทรุดโทรม และเมื่อไม่มีเสพจะเกิดอาการกระวนกระวาย ความคิดสับสน พฤติกรรมก้าวร้าวหงุดหงิดง่าย วิตกกังวลหวาดระแวง หูอื้อ นอนไม่หลับ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน บางคนอาจชักและหมดสติได้(สำนักงาน ป..ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ๒๕๔๗)



3 เฮโรอีน(HEROIN)

                                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เฮโรอีน(HEROIN)
รูป:เฮโรอีน
แหล่งที่มา:s://www.google.co.th/search?q=เฮโรอีน

        เฮโรอีน เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เป็นสารสังเคราะห์ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับฝิ่น และมอร์ฟีน มีชื่อทางวิทยศาสตร์ว่า ไดอาเซททิลมอร์ฟีน (diacetylmorphine) สูตรเคมีคือ c21h23no5 เฮโรอีนที่นำมาเสพจะอยู่ในรูปเกลือเช่น เฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ มีลักษณะเป็นผงสีขาว รสขม แต่สีจะเปลี่ยนไปตามองค์ประกอบที่ใส่เข้าไปในขบวนการผลิต เฮโรอีนมีชื่อเรียกอื่นเช่น ผงขาว แค็ป

ผลของการเสพเฮโรอีนเข้าสู่ร่างกาย

 เฮโรอีนสามารถเสพได้หลายวิธี เช่นการฉีด การสูดเข้าจมูก หรือสูบการเสพโดยวิธีสูบควันจะเข้าสู่สมองภายใน วินาที และหากเสพโดยวิธีฉีดจะออกฤทธิ์ภายใน 30 วินาที เมื่อเฮโรอีนเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเริ่มออกฤทธิ์ทันที ผู้เสพจะรู้สึกเสียวซ่านอย่างแรงอยู่นาน 1-2 นาที ต่อจากนั้นจะรู้สึกตัวร้อนวูบวาบ ปากแห้ง แขนขาหนักอึ้ง ไม่มีความเจ็บปวด เคลิบเคลิ้มและผ่อนคลายความเครียด ผู้ที่ใช้เฮโรอีนเป็นเวลานานมักไม่เกิดอาการเสียวซ่านอย่างที่เคยใช้ในครั้งแรกๆ แต่มักเสพยาเพื่อไม่ให้เกิดอาการถอนยา ฤทธิ์อื่นๆ ของเฮโรอีนที่มีผลต่อร่างกาย ได้แก่ ฤทธิ์ระงับอาการไอ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก กดการหายใจ ม่านตาดำหดตัว (miosis)
       เฮโรอีนเป็นยาเสพติดที่ก่อให้เกิดการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง แม้จะทดลองเสพเพียงไม่กี่ครั้งก็ตาม ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกับมอร์ฟีนและฝิ่นแล้ว พบว่าเฮโรอีนมีฤทธิ์ทำให้เสพติดได้ง่ายกว่ามาก ผู้เสพเป็นเวลานานร่างกายจะทรุดโทรม น้ำหนักตัวลด ความคิดสับสน และมีรอยเข็มฉีดยาตามแขน


         
โทษ ของเฮโรอีน

                                ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โทษการเสพเฮโรอีน

รูป:โทษของการเสพเฮโรอีน
แหล่งที่มา:s://www.google.co.th/search?q=เฮโรอีน

ทำให้สมองเสื่อม ปัญญาอ่อน ร่างกายซีดผอม ทรุดโทรม จนถึงขาดภูมิต้านทานโรค ซึ่งอาจทำให้ เสียชีวิตด้วยโรคแทรกซ้อน หรือเสพเกิน ขนาดอาจถึงขั้นช็อค และเสียชีวิตได้การเสพเฮโรอีน
ด้วยการฉีด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น ยังเป็นการเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์อีกด้วย 
1. โทษต่อผิวหนัง เป็นอาการที่ทำให้เส้นเลือดใต้ผิวหนัง เกิดอาการขยายตัว เกิดเป็นตุ่มแดงเล็ก ๆ ขึ้นบริเวณผิวหนังและ กระตุ้นสารฮิสตามีน(Histamine) และกระตุ้นต่อมเหงื่อด้วย อาการนี้พบเห็นได้ หลังจากผู้เสพเฮโรอีนใหม่ ๆ จะมีอาการคันใต้ผิวหนังจึงแสดงอาการเกา หรือลูบบริเวณใบหน้า 
ลำคอ นอกจากนี้ผู้เสพจะมีเหงื่อออกมากกว่าปกติและขนลุก 
2. โทษต่อลำไส้ ทำให้ลำไส้บิดตัวลงผู้เสพจึงมีอาการท้องผูก 
3. กดศูนย์การหายใจ ทำให้หายใจช้ากว่าปกติ ถ้าใช้ในปริมาณมากจะทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ 
4. ทำลายฮอร์โมนเพศถ้าผู้เสพเป็นเพศหญิงจะทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ ถ้าผู้เสพเป็นเพศชาย 
จะทำให้ฮอร์โมนเพศลดลง ไม่มีความรู้สึก ต้องการทางเพศ 
     5. ทำลายระบบภูมิคุ้มกันโรคทางร่างกาย ผู้เสพติดจึงมีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย อาการที่พบเห็นภายนอก คือ          ผิวหนังมีอาการติดเชื้อเป็นแผลพุพอง
     ติดเชื้อวัณโรค ติดเชื้อโรคตับอักเสบ นอกจากนี้ผู้เสพติดเฮโรอีนจะทำให้ติดโรคเอดส์ได้ง่ายกว่าปกติ เพราะผู้เสพ      มักใช้เข็มฉีดยาที่ไม่ไดhทำความสะอาด หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกันจนทำให้ติดเชื้อ HIV ผู้เสพติดเฮโรอีนที่ติดเชื้อ        HIV ก็จะเป็นผู้แพร่ระบาด HIV เนื่องจากการจับกลุ่มใช้เข็มฉีดยา
    ร่วมกัน หรือในบางครั้งก็ มีเพศสัมพันธ์ร่วมกัน โดยไม่ได้ป้องกัน

4 สารระเหย(VOLATILE SOLVENT)

                                            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สารระเหย(VOLATILE SOLVENT)
รูป:สารระเหย
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q=สารระเหย



ลักษณะทั่วไปสารละเหย คือ สารที่ได้มาจากขบวนการผลิตน้ำมันปิโตรเลียม มีลักษณะเป็นไอ ระเหยได้รวดเร็วในอากาศ มีฤทธิ์ในการกระตุ้นและกดประสาทส่วนกลาง จัดเป็นตาเสพติดให้โทษตามพระราชกำหนดการป้องกันและใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 สารระเหยจะพบเห็นอยู่ในรูปผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่างๆ เช่น ทินเนอร์ แลคเกอร์ สีพ่น กาวน้ำ กาวยาง น้ำยาล้างเล็บ มีลักษณะเป็นของเหลวเฉพาะตัว ระเหยได้ดี สามารถดูดซึมได้รวดเร็วนิยมนำมาเสพโดยวิธีการสูดดมเข้าสู่ร่างกาย สาระเหยที่แพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าชนิดใดมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายเช่นสาร TOLUENE,ACETONE,ETHYL ACETATE,METHYL  ACETATE ฯลฯ เป็นส่วนผสมอยู่ เมื่อสูดดมสารระเหย สารพิษต่างๆจะผ่านทางเดินหายใจเข้าสู่กระแสโลหิต และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วเข้าสู่อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบประสาท ตับ ไต หัวใจ กล้ามเนื้อ สารพิษTOLUENE บางส่วนจะถูกกำจัดออกมาทางปอดจึงมักได้กลิ่นสารระเหยจากลมหายใจของผู้เสพ(สำนักงาน ป..ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ๒๕๔๗)

อาการผู้เสพติดสารระเหย 

                                       ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาการผู้เสพสารระเหย(VOLATILE SOLVENT)
รูป;แสดงอาการของผู้ที่สูบดมสารระเหย
แหลางที่มา:https://www.google.co.th/search?q=สารระเหย


       ผู้ที่เสพจะได้รับอาการเป็นพิษจากการสูดดมสารระเหยใน ลักษณะดังนี้คือ
1. พิษระยะเฉียบพลัน เป็นอาการที่เกิดขึ้นทันทีใดหลังจากการเสพสารระเหยประมาณ 15-20 นาที ในระยะแรกจะทำให้ผู้เสพมีอาการตื่นเต้นความรู้สึกเป็นสุขร่าเริงต่อมาจะมีอาการเหมือนคนเมาสุรา(แต่ไม่มีกลิ่นสุรา)พูดจาอ้อแอ้ไม่ชัดเจน ความคิดสับสนควบคุมตนเองไม่ค่อยได้ เกิดอาการระคายเคืองที่เยื่อบุภายในปากและจมูก ตามีความไวต่อแสงมากขึ้นหูแว่ว กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ฤทธิ์ของสารระเหยจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้ผู้เสพนอนไม่หลับ มีอาการเพ้อฝัน หลังจากนั้นจะเกิดอาการเหม่อซึมง่วงเหงาหาวนอน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ไอ คลื่นไส้ ใจสั่น ชักและเกร็งอาจหมดสติได้และหากสูดดมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่มากขึ้นขนาดฤทธิ์ของสารระเหยจะไปกดศูนย์การหายใจทำให้หัวใจทำงานผิดปกติอาจถึงขั้นเสียชีวิตเนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว
2. พิษเรื้อรัง ผู้ที่สูดดมสารระเหยต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ ระบบอวัยวะต่างๆในร่างกายจะถูกสารพิษจากสารระเหยทำลาย ก่อให้เกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ เกิดอาการเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ ปวดอักเสบ โรคมะเร็งปอด ไตอักเสบ การทำงานของหัวใจผิดปกติ โรคมะเร็งในเม็ดเลืออดขาว นอกจากนี้สารพิษโทลูอีน”(TOLUENE) จะทำลายเซลล์ประสาท ระบบประสาทและสมอง ทำให้สมองเสื่อม ความจำเสื่อม หลงลืมอาจถึงขั้นพิการทางสมอง กลายเป็นโรค สมองฝ่อถาวร ระบบกล้ามเนื้อของร่างกายจะทำงานไม่ประสานกัน กล้ามเนื้อจะถีบลง มือสั่น การทรงตัวไม่ดีเดินเซไปเซมา อาจเป็นอัมพาตที่แขนหรือขา ตลอดจนเกิดโรคชาตามปลายมือปลายเท้าบางรายอาจมีอาการทางประสาท (สำนักงาน ป..ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ๒๕๔๗)
            สำหรับผู้ที่ติดสารระเหย  เมื่อไม่ได้เสพจะมีอาการขาดยา เกิดอาการหงุหงิดง่วงเหงาหาวนอน ปวดท้อง เหงื่อออกมาก ปวดตามกล้ามเนื้อ ความคิดฟุ้งซ่าน มีพฤติกรรมก้าวร้าว นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย เจ็บหน้าอก คลื่นไส้และอาเจียน สารระเหยเป็นสิ่งเสพติดที่มีความร้ายแรงกว่ายาเสพติดที่มีความร้ายแรงกว่ายาเสพติดประเภทอื่นป็นอย่างมากเพราะนอกจากจะเสพติดง่ายแล้วยังก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะโรคสมองฝ่อถาวร ปัจจุบันวงการแพทย์ได้ยืนยันว่า ยังไม่มียาหรือวิธีการใดๆ ที่จะสามารถรักษาโรคสมองฝ่อให้หายกลับคืนเป็นปกติได้



 วิดีโอ:แนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ที่สูบดมหรือเสพสารระเหยเขาไป
แหล่งที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=ziXOXahvhMo


5 ยาบ้าหรือเมทแอมเฟตามีน(METHAMPHETAMINE)

                                      ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยาบ้าหรือเมทแอมเฟตามีน(METHAMPHETAMINE)

รูป:ยาบ้าหรือเมทแอมเฟตานี
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q= ยาบ้าหรือเมทแอมเฟตามีน

ยาบ้าเป็นยาเสพติดที่มีส่วนประกอบหลักคือสารสังเคราะห์กลุ่มแอมเฟตามีน แพร่ระบาดอยู่ รูปแบบด้วยกัน คือ แอมเฟตามีนซัลเฟต (Amphetamine Sulfate) เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) และเมทแอมเฟตามีนไฮโดรคลอยาบ้าออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้าทำให้การตัดสินใจช้าและผิดพลาด เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ เมื่อใช้ยาบ้าไปซักระยะหนึ่ง ร่างกายจะเกิดอาการดื้อยา (Tolerance) ผู้เสพจะต้องเพิ่มขนาดของยาและเสพบ่อยขึ้นยาจึงออกฤทธิ์เพียงพอเท่าที่ผู้เสพต้องการ การดื้อยาจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการเสพโดยวิธีฉีดเข้าเส้นเลือดและการสูบไอ มักก่อให้เกิดอาการเสพติดทางจิตใจมากกว่าทางร่างกาย ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ เป็นบ้า อาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก จะไปกดประสาท และระบบการหายใจทำให้หมดสติและถึงแก่ชีวิตได้
การเสพยาบ้าก่อให้เกิดผลร้ายหลายประการ ดังนี้ 

                                           ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยาบ้าที่มีผลต่อจิตใจ
รูป:แสดงอาการยาบ้าที่มีผลทางด้านจิตใจ
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q=ยาบ้าที่มีผลต่อจิตใจ
1.              1ผลต่อจิตใจ เมื่อเสพยาบ้าเป็นระยะเวลานานหรือใช้เป็นจำนวนมาก จะทำให้ผู้เสพมีความผิดปกติทางด้าน               จิตใจกลายเป็นโรคจิตชนิดหวาดระแวง ส่งผลให้มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น เกิดอาการหวาดหวั่น หวาดกลัว           ประสาทหลอน ซึ่งโรคนี้หากเกิดขึ้นแล้ว อาการจะคงอยู่ตลอดไป แม้ในช่วงเวลาที่ไม่ได้เสพยาก็    
                                                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยาบ้าที่มีผลต่อประสาท
รูป:แสดงอาการยาบ้าที่มีผลต่อประสาท
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q=ยาบ้าที่มีผลต่อประสาท

2.          ผลต่อระบบประสาท ในระยะแรกจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะมี             อาการประสาทล้า ทำให้การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ช้า และผิดพลาด และหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้           สมองเสื่อม หรือกรณีที่ใช้ยาในปริมาณมาก (Overdose) จะไปกดประสาทและระบบการหายใจ ทำให้หมดสติ            และถึงแก่ความตายได้
                                                                    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยาบ้าที่มีผลต่อพฤติกรรม
                                 รูป:แสดงอาการผู้ที่เสพยาบ้ามีผลต่อพฤติกรรม
                                  แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q=ยาบ้ามีผลต่อพฤติกรรม

3.         3.ผลต่อพฤติกรรม ฤทธิ์ของยาจะกระตุ้นสมองส่วนที่ควบคุมความก้าวร้าว และความกระวนกระวายใจ ดังนั้นเมื่อ         เสพยาบ้าไปนาน ๆ จะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป คือ ผู้เสพจะมีความก้าวร้าวเพิ่มขึ้น และหากยังใช้ต่อ        ไปจะมีโอกาสเป็นโรคจิตชนิดหวาดระแวง เกรงว่าจะมีคนมาทำร้ายตนเอง จึงต้องทำร้ายผู้อื่นก่อน

             6 ยาอีหรือเอ็คซ์ตาซี(ECSTASY)

                                                   ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยาอีหรือเอ็คซ์ตาซี(ECSTASY)
                                                           รูป:ยาอีหรือเอ็คซ์ตาซี
         แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q=ยาอีหรือเอ็คซ์ตาซี


                       ลักษณะทั่วไปยาอีหรือเอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) เป็นสารที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมีจัดเป็นยาเสพติดให้โทษ          ประเภทตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ยาอีมีลักษณะหลายอย่าง เช่น เป็นแค็ปซูล เป็นเม็ด          แบนสีขาว สีน้ำตาล สีสมพู ไม่ค่อยพบในลักษณะเป็นผง อาอีอาจมีชื่อเสียงเรียกที่แตกต่างตามแหล่งแพร่ระบาท              หลายชื่อ เช่น ยาเลิฟ ยาเอ็กซ์ อาดัม เอ็นจอย โดเว่อ เป็นต้น ยาอีออกฤทธิ์แต่มีฤทธิ์หลอนประสาทที่รุนแรง           
      อาการผู้เสพติดยาอี
หน้าแดง ขากรรไกรค้าง คลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตสูง หัวใจ เต้นแรงผิดปกติ ม่านตาขยายกว้าง กล้ามเนื้อ         เกร็ง ตัวสั่นกระตุก เกิดอาการหัวใจล้มเหลว 

                                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาการผู้เสพยาอีหรือเอ็คซ์ตาซี(ECSTASY)

รูป:แสดงอาการผู้เสพยาอี
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q=ยาอี



7 โคเคน (COCAINE)

                                              ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โคเคน (COCAINE)

รูป:โคเคน
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q=โคเคน

โคเคนหรือโคเคอิน บางครั้งก็เรียกโคคาเฉยๆ มี2 ชนิดด้วยกัน จะมีขึ้นในแถบเปรู และ โบลเวียซึ่งมีอุณหภูมิขนาด 12-15 องศาเซลเซียส มีความชื้นดีตลอดเวลาต้นสูงประมาณลักษณะใบรูปไข่ก้านหนึ่งก็มีอยู่ 7ใบ ชาวอินเดียแดงจะใช้ใบโดคคาป้ายกับปูนหรือหอขี้เถ้าของไม้ บางชนิดเอามาเคี้ยวเหมือนคนไทย ใช้ใบพลูป้ายปนเคี้ยวกับหมาก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อความสดชื่นบรรเมาความหิวได้ โคเคนเป็นยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาทซึ่งสกัดมาจากใบโคคาหรือเรียกว่า โคเคนหรือโคเคอิน เมื่อสกัดออกมาแล้วจะได้เป็นผงขาว รสขมแต่ไม่มีกลิ่น เวลาเสพบางคนก็ฉีดใต้ผิวหนังหรือเหมือนกับยานัดก็ได้ โคเคนจะไปกระตุ้นประสาท ทำให้แจ่มใสร่าเริง หายอ่อนเพลียเมื่อหมดฤทธิ์ยาก็จะมีอาการเศร้าซึมหลับไป บางครั้งถึงกับหมดสติ ตัวสั่นหน้ามืดคล้ายจะเป็นลมเนื่องจากร่างกายได้รับการกระตุ้นมากเกินไป นี่แหละคือโทษขอยาเสพติด คือมันทำให้คนเป็นทาสของมันอย่างไม่รู้สึกตัว เมื่อติดแล้วไม่มีทางแก้ นอกจากทำจิตใจให้เข้มแข็งนั่นแหละจึงจะมีชัยชนะมันได้
ลักษณะทั่วไปโคเคนหรือโคคาอีน เป็นสารเสพติดธรรมชาติที่ได้จากการสังเคราะห์ส่วนใบของต้นโคคา จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ตามพระราชบัญญัติยาเสพติด พ.ศ. 2522 นิยมปลูกกันมากในประเทศแถบอเมริกาใต้และอเมริกลาง เช่น ประเทศโบลิเวีย เปรู โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เป็นต้น สำหรับขั้นตอนการผลิตโคเคน ประเทศเปรูและโบลิเวีย จะเป็นแหล่งแปรสภาพใบโคคาเป็น COCA PASTE และ COCA BASE ในขณะที่ประเทศโคลัมเบียเป็นแหล่งแปรสภาพขั้นสุดท้ายโดยนำCOCAPASTEและCOCABASEไปแปรสภาพ                      เป็นCOCAINEHYDROCHLORIDE อันเป็นโคเคนบริสุทธิ์มีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท ส่วนกลางเช่นเดียวกับแอมเฟตามีน(ยาบ้า)แต่ทำให้เกิดอาหารติดยาได้ง่ายกว่าโคเคนหรือโคคาอีนนิยมเรียกกันในกลุ่มผู้เสพว่า COKE,SNOW,SPEED,BALL,CRACK มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว รสขม ไม่มีกลิ่น มักนิยมเสพโดยใช้วิธีสูบ ฉีด หรือสูดพ่นเข้าไปในจมูก

อาการผู้เสพติดโคเคน
ผู้ที่เสพโคเคนเข้าสู้ร่างกาย ในระยะแรกฤทธิ์ของโคเคนจะกระตุ้นประสาททำให้เกิดอาการไร้ความรู้สึก ดูเหมือนคล้ายมีกำลังมากขึ้น มีความกระปรี้กระเปร่า ไม่รู้สึกเหนื่อย แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา ร่างและความรู้สึกจะอ่อนเพลียเมื่อยล้าขึ้นมาทันที มีอาการเซื่องซึมและหากว่าเสพจนถึงขั้นติดยาจะเกิดผลต่อร่างกายอย่างมาก เช่น หัวใจเต้นแรง ความดันโลหิตสูง ตัวร้อนมีไข้ตลอดเวลา นอนไม่หลับ และหากเสพโคเคนเข้าสู่ร่างกายเกินขนาดจะเกิดพิษเฉียบพลัน ฤทธิ์ของยาจะไปกดการทำงานของหัวใจ ทำให้หายใจไม่ออก อาจชัก และเสียชีวิตได้

          

วิดีโอ:อธิบายความหมายและอาการของโคเคน
แหล่งที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=BCJvgqiuwsc






8 กระท่อม(KRATOM)   

                                           ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กระท่อม(KRATOM)

รูป:กระท่อม
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q=กระท่อม


§  กระท่อม เป็นพืชเสพติดชนิดหนึ่ง ส่วนมากพบในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศอินเดียและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศไทย ลักษณะเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางมีแก่นเป็นเนื้อไม้แข็ง
§  ใช้ส่วนของใบเป็นสิ่งเสพติด ลักษณะใบคล้ายกระดังงาหรือใบฝรั่งต้นหนาทึบ ต้นกระท่อมมี ชนิด คือ?ก้านเขียวและก้านแดง


ฤทธิ์ในทางเสพ?
§  ในใบกระท่อมมีสารไมตราจัยนินที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย มีอาการเสพติด?ทางจิตใจ อาจมีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง ทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทนแดดไม่รู้สึกร้อน ทำให้?ผิวหนังไหม้เกรียมมีอาการมีนงง ปากแห้ง นอนไม่หลับ ท้องผูก แต่จะรู้สึกหนาวสั่น เมื่อมีอากาศชื้น หรือเมื่อฝนฟ้า?คะนอง ร่างการทรุดโทรม มีอาการประสาทหลอน จิตใจสับสน



วิดีโอ:คนที่กินใบกระท่อม
แหล่งที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=-As_ZJLZI_Q




9 ยาเค(KETAMINE,KETARA,KETAVA)

                                            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยาเค(KETAMINE,KETARA,KETAVA)

รูป:ยาเค
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q=ยาเค

ลักษณะทั่วไปยาเคหรือยาเคตามีน เคตาวา ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2521 จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ หมายถึง ยาที่มีอันตรายสูงที่แพทย์จะจัดให้กับผู้ป่วยเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ยาเคถูกสังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้เป็นยาสลบก่อนการผ่าตัด สาเหตุที่ทำให้ยาเคกลายเป็นปัญหาเพราะมีเยาวชนนำยาเคมาใช้เป็นสิ่งมึนเมาและพบว่ามีการนำยาเคมาใช้ร่วมกับยาเสพติดร้ายแรงอื่นๆ เช่น ยาอี และโคเคน ยาเคอออกฤทธิ์หลอนปรพสารทอย่างรุนแรง เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เคลิบเคลิ้ม(Euphoria) รู้สึกว่าตนเองมีอำนาจพิเศษ มีอาการสูญเสียกระบวนการทางความคิด ทำให้ความคิดสับสน การรับรู้ และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภาพ แสง เสียง เปลี่ยนแปลงไป ร่างกายเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน หากใช้ปริมาณมากจะเกิดอาการหายใจติดขัด เกิดอาการประสาทหลอนเห็นภาพน่ากลัวซึ่งอาการเหล่านี้ อาจปรากฏกับผู้เสพอีกแม้ว่าจะหยุดเสพแล้ว เรียกกว่า Flashbacks ซึ่งในที่สุดผู้เสพอาจประสบสภาวะโรคจิตกลายเป็นคนวิกลจริตได้(สำนักงาน ป..ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ๒๕๔๗)

อาการผู้เสพติดยาเค
เคลิบเคลิ้ม มึนงง ความคิดสับสน ตาลาย หูแว่ว การเคลื่อนไหวของร่างกายไม่สัมพันธ์กัน



วิดีโอ:ข่าวผู้เสพยาเค
แหล่งที่อยู่:https://www.youtube.com/watch?v=BL4Jo_7Bq8s


 10 กัญชา (CANNABIS)

                                           ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กัญชา (CANNABIS)
รูป:กัญชา
แหล่งที่มา:https://www.google.co.th/search?q=กัญชา


ลักษณะทั่วไป กัญชาเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้าชนิดหนึ่ง มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่นTHAI-STICKS,MARY-YANE หรือที่นิยมเรียกกันในกลุ่มผู้เสพว่าเนื้อ จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ลักษณะใบกัญชาจะเรียวยาวแตกเป็นแฉกคล้ายใบละหุ่งหรือมันสำปะหลัง ส่วนที่นำมาใช้เสพก็คือ ใบและยอดช่อดอกตัวเมียโดยการนำมาตากหรืออบแห้งแล้วบดหั่นเป็นผงหยาบๆ นำมาม่วนบุหรี่สูบหรืออาจสูบด้วยกล้องหรือบ้องกัญชา ในกรณีที่เสพด้วยวิธีการสูบ กลิ่นกัญชาจะเหมือนกับเชือกหรือหญ้าแห้งไฟไหม้ กัญชาจะออกฤทธิ์อย่างผสมผสานกัน เริ่มตั้งแต่กระตุ้น กด และหลอนประสาท ทั้งนี้ เนื่องจากในช่อดอกและใบกัญชามีสารพิษที่ร้ายแรงชนิดหนึ่งเรียกว่า TETRAHYDROCANNABINOL (THC) เป็นสารพิษที่ทำลายสุขภาพร่างกายและก่อให้เกิดอาการติดยาผู้ที่เสพกัญชาเข้าสู่ร่างกายแล้วประมาณ 15-30 นาที ฤทธิ์ของสาร THC จำทำให้ร่างกาย อารมณ์และจิตใจผู้เสพเปลี่ยนแปลงไป บางรายอาจถึงขั้นไม่สามารถควบคุมสติตนเองได้อาจเพ้อคลั่ง มีอาการเป็นโรคจิตในเวลาต่อมา(สำนักงาน ป..ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ๒๕๔๗)

พิษของกัญชา
กัญชา เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่ประชารู้จักกันดี มาตั้งแต่สมัยโบราณ ปลูกง่ายและมีกระจายไปทั่วโลก และมีชื่อเสียงไปตามประเทศและแหล่งนั้นๆ ลักษณะต้นของกัญชา ใบมนแฉกไปทางก้านหลายแฉก คล้ายในมันสับปะหลัง ดอกเขียว ช่อดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ต่างต้นกัน ใบของกัญชาและดอกจะมีสารชื่อแคนนาบิน็อล ซึ่งมีฤทธิ์ต่อระบบจิตประสาทเป็นอย่างมาก กัญชายังใช้ปรุงยาหลายขนาด เช่น ทิงเจอร์ ยาแก้ปวด แก้ท้องร่วง แก้โรคบิด และแก้สมองพิการ ความจริงแล้วกัญชาเป็นสารเสพติดให้โทษแก่ผู้เสพเป็นอย่างหรือหญ้าแห้งไฟไหม้ กัญชาจะออกฤทธิ์อย่างผสมผสานกัน เริ่มตั้งแต่กระตุ้น กด และหลอนประสาท ทั้งนี้ เนื่องจากในช่อดอกและใบกัญชามีสารพิษที่ร้ายแรงชนิดหนึ่งเรียกว่า TETRAHYDROCANNABINOL (THC) เป็นสารพิษที่ทำลายสุขภาพร่างกายและก่อให้เกิดอาการติดยาผู้ที่เสพกัญชาเข้าสู่ร่างกายแล้วประมาณ 15-30 นาที ฤทธิ์ของสาร THC จำทำให้ร่างกาย อารมณ์และจิตใจผู้เสพเปลี่ยนแปลงไป บางรายอาจถึงขั้นไม่สามารถควบคุมสติตนเองได้อาจเพ้อคลั่ง มีอาการเป็นโรคจิตในเวลาต่อมา(สำนักงาน ป..ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ๒๕๔๗)

พิษของกัญชา
    กัญชา เป็นสารเสพติดให้โทษแก่ผู้เสพเป็นอย่างยิ่ง มันออกฤทธิ์หลายอย่าง เช่น กดประสาท กระตุ้นประสาท หลอนประสาท มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว ถ้าสูบกัญชาไปนานๆ ก็จะเกิดผลต่อสมองอย่างเรื้อรัง ไม่อาจจะรักษาให้หายได้ และจทำให้สายตาแปรปรวนในการมองดูภาพ และจะเกิดภาพลวงตาขึ้น สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การเสพกัญชานั้นนำพาไปสู่ยาเสพติดชนิดอื่นๆได้ง่ายๆ พิษของกัญชา นอกจากกัญชาจะออกฤทธิ์อย่างกว้างขวางแล้ว ยังก่อให้เกิดภัยกับอวัยวะต่างๆ ดังนี้
1.คนที่สูบกัญชาจะทำให้ความต้านทานของเชื้อโรคและโรคมะเร็งลดลง เพราะเชื้อโรคและโรคมะเร็งมีความสัมพันธ์กับเม็ดโลหิตขาว ซึ่งทางการแพทย์ เรียกว่า ที-เซลล์ ผู้ที่สูบกัญชามานานจะพบว่า ที-เซลล์ ได้ทำหน้าที่ผิดปกติไป จึงไม่มีความต้านทานต่อเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้เท่าที่ควร อีกแบบหนึ่งซึ่งเป็นน้ำมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล์ ซึ่งเป็นสารที่สกัดมาจากกัญชาผสมอยู่อย่างเข้มข้นเราเรียกกันว่า ลิควิดฮาซิช หรือ แฮชออยล์ใช้เพียง2-3 หยดๆ ลงในบุหรี่ กัญชาก็จะออกฤทธิ์ทันที สองอย่างนี้ฤทธิ์แรงมากกว่ายางกัญชาเฉพาะแฮชออยล์นั้น แรงมากกว่า
2.การสูบกัญชานั้นมีผลต่อสมองอย่างถาวร และแน่นอนทำให้สมองเสื่อมก่อนวัยการศึกษาโดยฉีดเอาอากาศเข้าไปในสมอง และถ่ายภาพรังสีของสมอง ผลปรากฏว่า ผู้ที่สูบกัญชามีอาการเหี่ยวของเปลือกสมอง ถ้าหากสูบไปนานๆ อาการเหี่ยวก็จะเกิดขึ้นอย่างถาวร จากการตรวจศพก็พบว่า มีอาการเสื่อมของสมองจริงๆ นอกจากนั้นแล้วการสูบแบบเรื้องรัง ก็จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ด้วยคือ ซึมไม่รู้จักควบคุมตัวเอง สับสนวุ่นวายและไม่รู้ความจริงของสภาพแวดล้อม
3.การสูบกัญชาจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการให้กำเนิดบุตร คือ บุตรที่กำเนิดมาจะพิการทางสมองและเกิดโรคกรรมพันธุ์ เนื่องจากโครโมโซมในเซลล์ลดจำนวนลงพิษของกัญชา
4.การสูบกัญชาก็เหมือนการสูบบุหรี่ จะทำให้ปอดมีการเปลี่ยนแปลงเป็นโรคมะเร็งง่ายขึ้นและจะเกิดการระคายเคืองต่อระบบการหายใจ หลอดลมอักเสบเรื้องรังขนอ่อนบนผิวปอดมีการเคลื่อนไหวช้าลง และพบมะเร็งปอดได้บ่อยๆกับคนที่สูบ
5.สูบกัญชาอาจทำให้เกิดการเป็นหมันเพราะหมดสภาพทางเพศ ฤทธิ์ของกัญชาทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงและความรู้สึกทางเพศก็ลดลงด้วย อย่างไรก็ตามผลที่เกิดขึ้นเช่นนี้อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว ผู้ที่เริ่มหัดสูบเมื่อเลิกแล้วสมรรถภาพทางเพศก็จะกลับกลายเป็นปกติได้ กัญชามีฤทธิ์และมีพิษคล้ายคลึงกับยาเสพติดอื่นๆ ดังนั้นการสูบกัญชาจึงมีแต่ผลเสียนำความเสื่อมโทรมมาสู่ร่างกาย มีหลายประเทศได้มีการเรียกร้องให้ถือว่าการสูบกัญชาไม่ผิดกฎหมาย แต่แพทย์ก็ถือว่าเป็นสิ่งทำลายสุขภาพ และทำลายตนเองโดยจากการตรวจศพก็พบว่า มีอาการเสื่อมของสมองจริงๆ นอกจากนั้นแล้วการสูบแบบเรื้องรัง ก็จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ด้วยคือ ซึมไม่รู้จักควบคุมตัวเอง สับสนวุ่นวายและไม่รู้ความจริงของสภาพแวดล้อม
3.การสูบกัญชาจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการให้กำเนิดบุตร คือ บุตรที่กำเนิดมาจะพิการทางสมองและเกิดโรคกรรมพันธุ์ เนื่องจากโครโมโซมในเซลล์ลดจำนวนลงพิษของกัญชา
4.การสูบกัญชาก็เหมือนการสูบบุหรี่ จะทำให้ปอดมีการเปลี่ยนแปลงเป็นโรคมะเร็งง่ายขึ้นและจะเกิดการระคายเคืองต่อระบบการหายใจ หลอดลมอักเสบเรื้องรังขนอ่อนบนผิวปอดมีการเคลื่อนไหวช้าลง และพบมะเร็งปอดได้บ่อยๆกับคนที่สูบ
5.สูบกัญชาอาจทำให้เกิดการเป็นหมันเพราะหมดสภาพทางเพศ ฤทธิ์ของกัญชาทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงและความรู้สึกทางเพศก็ลดลงด้วย อย่างไรก็ตามผลที่เกิดขึ้นเช่นนี้อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว ผู้ที่เริ่มหัดสูบเมื่อเลิกแล้วสมรรถภาพทางเพศก็จะกลับกลายเป็นปกติได้ กัญชามีฤทธิ์และมีพิษคล้ายคลึงกับยาเสพติดอื่นๆ ดังนั้นการสูบกัญชาจึงมีแต่ผลเสียนำความเสื่อมโทรมมาสู่ร่างกาย มีหลายประเทศได้มีการเรียกร้องให้ถือว่าการสูบกัญชาไม่ผิดกฎหมาย แต่แพทย์ก็ถือว่าเป็นสิ่งทำลายสุขภาพ และทำลายตนเองโดยทางอ้อม (ชามี อัฐกิจ และคณะ)



วิดีโอ:โทษของกัญชา
แหล่งที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=90QqlUozB7I


อาการผู้เสพติดกัญชา
ผู้ที่เสพกัญชาในระยะแรกของการเสพ ฤทธิ์ของกัญชาจะกระตุ้นประสาททำให้ผู้เสพมีอาการร่าเริง ช่างพูดหัวเราะง่าย หัวใจเต้นเร็ว ออกฤทธิ์กดประสาท ผู้เสพจะมีอาการ ง่วงนอน ซึม หายใจถี่ เห็นภาพลวงตา ภาพหลอนต่างๆ เกิดอาการหูแว่ว ตกใจง่าย วิตกกังวล หวาดระแวง บางรายคลื่นไส้อาเจียน ความจำเสื่อม ความคิดสับสน เพ้อคลั่ง ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ มีอาการทางจิต นอกจากนี้สารพิษในกัญชายังทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ติดโรคอื่นๆได้ง่าย เช่นโรค หลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็งปอด ทำให้ สมรรถภาพทางเพศลดลงเกิดความผิดปกติของฮอร์โมนเพศและพันธุกรรม




วิดีโอ:อาการของผู้เสพกัญชา
แหล่งที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=FC_Ya_MSN8Y



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น